เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“ลาบ” เป็นอาหารท้องถิ่นภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย ลาบเป็นวิธีการปรุงอาหารจากเนื้อสับละเอียด ทั้งแบบดิบและแบบสุก แล้วนำมาผสมให้เข้ากันกับวัตถุดิบและเครื่องปรุงต่าง ๆ ที่แตกต่างกันตามภูมิภาค รวมทั้งการใช้ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เครื่องใน เลือด น้ำดี และน้ำเพี้ย เป็นส่วนประกอบในการปรุงลาบ เพื่อเพิ่มรสสัมผัสที่แตกต่างกันในคำเดียว อีกทั้งอาหารประเภทลาบยังได้ชื่อว่า เป็นเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของเครื่องสมุนไพรและผักเป็นจำนวนมาก บางสูตรกล่าวว่า ใช้เครื่องเทศกว่ายี่สิบชนิด และใช้สมุนไพรกว่าสามสิบชนิด ชื่อเรียกของลาบนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อสัตว์ที่นำมาสับเพื่อทำลาบ เช่น ลาบหมู ลาบไก่ ลาบควาย ลาบปลา แม้แต่เนื้อพิสดารอาหารป่าอย่างกวาง กระจง เก้ง หรือบึ้ง ก็สามารถนำมาทำลาบได้ หรือผู้ใดที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ก็สามารถนำผักชนิดอื่น ๆ มารังสรรค์เป็นส่วนผสมสำหรับทำลาบได้เช่นกัน เช่น ลาบเห็ด เมนูลาบจานหลักจะเสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียงนานาชนิด เช่น ผักสด ผักต้ม ยอดอ่อนสมุนไพรต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า เมนูลาบเอื้อให้คนได้กินผักสมุนไพร เพิ่มวิตามิน และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ลาบหมูทอดสองทิศใบกัญชา’ เมนูไทยสองภาคที่มีรสชาติจัด หอมเครื่องเทศ เนื้อหมูเต็มคำ และยังมีสมุนไพรพิเศษอย่าง ‘ใบกัญชา’ ใส่เพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มความอร่อยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สารทีเอซซีในกัญชายังมีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล ช่วยลดอาการปวด และลดภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
ส่วนผสม
วิธีการทำ
นำข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลา ใบมะกรูด หอมแดง และผักชีฝรั่ง ผสมกับหมูสับ หมักทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง
ปั้นหมูสับที่หมักไว้เป็นก้อนกลมแบน แล้วห่อด้วยใบกัญชา
ตั้งกระทะน้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วใส่หมูลงในกระทะและทอดจนสุกสีเหลืองน่ารับประทาน
จัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Honneychurch P.N, 1980. Caribbean Wild Plants and Their Uses.
** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
*** Khaerunnisa S, et al. Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant
Compounds by Molecular Docking Study. Preprints 2020
**** Hemilä H, Chalker E. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, 1. DOI: 10.1002/14651858.CD000980.pub4
ผศ.ดร. เอกราช บำรุงพืชน์, สมุนไพรและสารพฤกษเคมี
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล – www.medplant.mahidol.ac.th
***** vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.