เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
หนังสือ “อาหารรสวิเศษของคนโบราณ” กล่าวถึงเมนูผัดกะเพราไว้ว่า อาหารชนิดนี้เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน สันนิษฐานว่าถือกำเนิดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 7 เพราะคนจีนนำมาขายในร้านอาหารแบบตามสั่ง ผัดกะเพราอาจจะเพิ่งเป็นที่นิยมราว พ.ศ. 2500 สมัยนั้นคนไทยนิยมรับประทานอาหารที่เผ็ดร้อนและมีรสจัด มีการผสมผสานเครื่องเทศกับผักที่มีกลิ่นชนิดต่าง ๆ เพื่อนำมาปรุงอาหารประเภทผัดเผ็ดหรือแกงป่า เนื่องจากในยุคนั้นประเทศไทยยังไม่มีอาหารประเภทผัดมากนัก ต่อเมื่อมีชาวจีนเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จึงได้มีการดัดแปลงวัตถุดิบบางอย่าง กล่าวคือ ใช้เต้าเจี้ยวดำผัดกับกระเทียม พริก ใบกะเพรา และเนื้อสัตว์ รับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ พร้อมไข่ดาว ช่วยทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น จึงกลายเป็นสูตรเต้าเจี้ยวผัดกระเทียมใส่พริกและกะเพราแสนอร่อย ต่อมาอาหารชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
คนไทยจึงนำเมนูนี้มาปรับเป็นผัดที่ไม่ใส่เต้าเจี้ยว แต่ยังคงใส่พริก กระเทียม และใบกะเพราไว้ พร้อมใส่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ลงไป เพื่อให้มีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เมนูนี้จึงกลายมาเป็นข้าวผัดกระเพราที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘กะเพราคั่วใบกัญชา’ หนึ่งในเมนูสามัญประจำบ้านคู่ครัวไทย กลิ่นหอมจากใบกะเพราะทำให้อาหารจานนี้มีรสชาติและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ยังมีวัตถุดิบพิเศษอย่าง ‘ใบกัญชา’ มาช่วยเสริมฤทธิ์ทำให้รับประทานเข้าไปแล้วรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสนิท และช่วยเยียวยาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา เมนูนี้สามารถใส่เนื้อสัตว์ได้ตามชอบ ผัดคลุกเคล้ากับใบกะเพราและกัญชา ทำให้ผัดกะเพราะจานนี้มีรสชาติแปลกใหม่ประกอบกับรสเผ็ดจัด ตักราดบนข้าวหุงใหม่ร้อน ๆ รับรองว่าอร่อยไม่มีเบื่อ
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งกะทะน้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงใส่พริกและกระเทียมลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม
ใส่หมูสับลงไปผัดในกะทะจนสุก
ใส่ใบกัญชาลงไป ปรุงรสด้วย น้ำมันหอย น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊วดำ และน้ำตาล
คลุกเคล้าให้เข้ากันและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Jadhav P, et al. Assessment of potency of PC-complexed Ocimum sanctum methanol extract in embryonated eggs against Influenza virus (H1N1). Pharmacognosy Magazine. 2014; 10(Suppl 1): S86–S91
** vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142
*** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659