เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ต้มจืดเป็นเมนูที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอาหารจีน เชื่อกันว่าต้มจืดดัดแปลงมาจากเมนูน้ำซุป เป็นหนึ่งในอาหารภูมิปัญญาชาวจีนที่รังสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารสุขภาพของคนยุคโบราณ เวลาที่ครอบครัวชาวจีนรับประทานอาหารจะต้องมีน้ำแกงหรือน้ำซุปไว้คอยซดให้คล่องคอเสมอ ในภาษาจีนมีคำที่ชาวจีนใช้กันว่า ‘ทึง’ หมายถึง น้ำเดือด
น้ำซุปของคนจีนมีลักษณะคล้ายต้มจืดของไทยอย่างมากและมีความหลากหลาย อาทิ ‘เปะฉ่ายทึง’ หมายถึงต้มจืดผักกาดขาว ‘ตังฮุงทึง’ หมายถึงแกงจืดวุ้นเส้น ทั้งนี้ น้ำซุปของชาวจีนจะเคี่ยวกระดูกหมู และใส่เครื่องเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมุนไพร ให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน และให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
ต่อมาเมื่อต้มจืดได้เข้ามาในประเทศไทย จึงมีการปรับปรุงสูตรให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น แต่ก็ยังคงความเป็นอาหารสุขภาพด้วยการใส่ทั้งผักและเนื้อสัตว์อย่างหลากหลาย โดยคนไทยจะชอบรับประทาน ทั้งต้มจืดเต้าหู้หมูสับ ต้มจืดวุ้นเส้นเต้าหู้ ต้มจืดปลาหมึกยัดไส้เต้าหู้ และอีกหลากหลายวัตถุดิบที่สามารถนำมาทำต้มจืดได้ เช่น ต้มจืดปวยเล้ง เป็นต้น
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ต้มจืดกระดูกไก่ใส่ปวยเล้ง’ เมนูอร่อยถูกปาก ทำง่าย ซดได้คล่องคอรสชาติหวานหอมกลมกล่อม โดย ‘ต้มจืดปวยเล้ง’ เป็นอีกเมนูต้มจืดที่ใช้ปวยเล้งเป็นวัตถุดิบหลัก ‘ปวยเล้ง’ เป็นผักที่มีลักษณะคล้ายผักโขม หารับประทานได้ง่าย ไม่แพง และมีสัมผัสที่ดี เมื่อนำมาทำเป็นต้มจืดยิ่งออกรสหวานเมื่อต้มในน้ำแกงกลมกล่อม
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งเตาต้มน้ำสต๊อกไก่ ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยลงไป ต้มจนพอน้ำเดือด
ใส่หมูสับลงไปต้มจนสุก แล้วปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลือง
ใส่ปวยเล้ง แครอท ขึ้นฉ่ายและเห็ดหอมลงไป ต้มจนพอสุก
ยกออกจากเตาและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 217. ISBN 9781284057560.
** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
*** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.
**** Kawata A, et al. Anti-inflammatory Activity of β-Carotene, Lycopene and Tri-n-butylborane, a Scavenger of Reactive Oxygen Species. In Vivo. 2018; 32(2): 255–64
***** บุญธิดา มระกูล. เห็ดแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ.https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/