เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ผักกูดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์น สามารถนำมาปรุงอาหารได้ ทั้งยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย ผักกูดมักขึ้นตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ หรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย นอกจากนี้แล้ว ผักกูดยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อม หากบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็ดขาด
ด้วยผักกูดเป็นพืชที่รับประทานได้ มีรสชาติที่ดี และมักขึ้นตามริมน้ำลำธารที่มีแดดส่องถึง เป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ได้อาศัยการเพาะปลูก เรียกได้ว่าหาทานไม่ยาก และยังอุดมไปด้วยสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้คนจึงนิยมนำมารับประทานหรือประกอบอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนของใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสดได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้อักเสบ นิยมนำมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นผัดน้ำมันหอย แกงเลียง ต้มจืด ผักกูดลวกจิ้มน้ำพริก (คนปักษ์ใต้ชอบรับประทานกับบูดู) ยำผักกูด แกงส้ม อื่น ๆ อีกมากมาย
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ผักกูดน้ำมันหอยเสริมธาตุเหล็ก’ เป็นเมนูผัดที่วัตถุดิบหลักเป็นผักกูด เด็ดเอาส่วนใบ หรือส่วนอ่อน ๆ นำไปผัดบนกระทะตั้งน้ำมันร้อน ๆ กับกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ให้รสกลมกล่อมด้วย น้ำปลา น้ำตาล หรือผงชูรส ตามแบบเมนูผัดทั่วๆ ไป นอกจากทำง่ายแล้วผักกูดยังหารับประทานง่าย ราคาไม่แพง และมีสรรพคุณทางสมุนไพรที่เป็นประโยชน์
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งเตาต้มน้ำจนพอเดือด ใส่ผักกูดลงไปลวกจนนิ่ม แล้วนำขึ้นพักสะเด็ดน้ำ
ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อย เมื่อน้ำมันร้อน จึงใส่พริกและกระเทียมลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม
ใส่ผักกูดและหอมใหญ่ลงไปผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง น้ำปลา และน้ำตาล
คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 217. ISBN 9781284057560.
** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
*** Bakhru HK. Healing through natural foods. 16. Mumbai: Jaico; 2015.
**** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
***** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.