เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ข้าวผัดสับปะรด เป็นอาหารประเภทข้าวผัด เพิ่มรสเปรี้ยวด้วยสับปะรด ผลไม้เมืองร้อนที่ช่วยให้ความสดชื่นและคลายร้อนในวันที่ในอากาศอบอ้าว สับปะรดถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อเมืองร้อนที่ผู้คนนิยมทานเพื่อเพิ่มความสดชื่น กระนั้นคงไม่มีใครที่จะคิดเอาสับประรดมารับประทานคู่กับข้าว หรือนำมาผัดกับข้าวเป็นข้าวผัด
ความเชื่อเรื่องต้นกำเนิดของข้าวผัดสับปะรดมีหลากหลาย หนึ่งในนั้นมาจากเมืองไทย ข้าวผัดสับปะรดเป็นเมนูยุคใหม่ที่เริ่มมานิยมทานกันในช่วงไม่เกินร้อยปีมานี้เอง ซึ่งวัฒนธรรมการกินข้าวกับสับปะรดหรือผลไม้อื่น ๆ อย่าง กล้วย มะม่วง แตงโม มีมาตั้งแต่โบราณกาล คนไทยสมัยก่อนมักจะกินข้าวเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว และประเทศไทยมีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้ พื้นที่เหมาะแก่การปลูก มีรสชาติหวานฉ่ำ การกินข้าวกับผลไม้ช่วยให้อิ่มท้องและช่วยคลายร้อนได้ในเวลาเดียวกัน
หรือบางความเชื่อก็กล่าวไว้ว่า ข้าวผัดสับปะรดมีต้นกำเนิดมาจากชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ชาวจีนเหล่านี้ได้เห็นวัฒนธรรมการกินผลไม้กับข้าวจึงเกิดการผสานวัฒนธรรม ประยุกต์สูตร จนกลายเป็นข้าวผัดสับปะรดในเวลาต่อมา
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ข้าวผัดสับปะรดต้านอนุมูลอิสระ’ เป็นหนึ่งในเมนูข้าวผัดอาหารจานพื้นฐานของเอเชียที่มีวิธีทำโดยนำข้าวสวยลงไปผัดคลุกกับซอสเครื่องปรุง ใส่เนื้อสัตว์ตามชอบ เพิ่มวัตถุดิบให้รสหวาน เช่น หมูหย็อง กุนเชียง ลูกเกด และหัวหอม เพื่อตัดรสเปรี้ยวเค็ม ก่อนจะตบท้ายด้วยการใส่สับปะรดตัวเอกของเมนู ตักใส่จานจัดเสิร์ฟ
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งกระทะและใส่น้ำมันลงไป เมื่อน้ำมันร้อน ใส่กระเทียมสับและหอมใหญ่ลงไปผัดจนพอสุก แล้วจึงค่อยใส่พริกหยวกลงไปผัด
ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดจนสุก แล้วจึงใส่ข้าวหอมมะลิลงไปผัด คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยผงกะหรี่และซอสถั่วเหลือง
ใส่สับปะรด ลูกเกด และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ลงไปในกระทะ
คลุกเคล้าวัตถุดิบทั้งหมดให้เข้ากัน จัดเสิร์ฟโดยใส่ถ้วยสับปะรดที่เตรียมไว้
อ้างอิง
* Hemilä H, Chalker E. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, 1. DOI: 10.1002/14651858.CD000980.pub4
** Kawata A, et al. Anti-inflammatory Activity of β-Carotene, Lycopene and Tri-n-butylborane, a Scavenger of Reactive Oxygen Species. In Vivo. 2018; 32(2): 255–64
*** Bakhru HK. Healing through natural foods. 16. Mumbai: Jaico; 2015.
**** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
***** Read SA, et al. The Role of Zinc in Antiviral Immunity. Advances in Nutrition. 2019;10:696–710; doi: https://doi.org/10.1093/advances/nmz013