เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เมนูส้มตำผลไม้ เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ประยุกต์มาจากส้มตำ เพราะเมนูส้มตำนอกจากครบรส ถูกปากคนไทยแล้ว ทุกบ้านทุกครัวเรือนล้วนแล้วแต่มีวัตถุดิบที่สามารถตำส้มตำกินเองได้ เนื่องจากส้มตำเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม ปรุงไม่ยากหรือสลับซับซ้อนแต่อย่างใด อีกทั้งพื้นฐานรสชาติของส้มตำคือรสจัดและครบเครื่อง สามารถนำมาทานกับอาหารชนิดอื่น ๆ ได้ จึงเกิดการนำส้มตำไปประยุกต์สร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ มากมาย เพราะแต่ละภูมิภาค แต่ละฤดู แต่ละท้องถิ่น มีวัตถุดิบที่แตกต่างกันไป ผู้คนจึงนำวัตถุดิบท้องถิ่นที่ตัวเองมีมาใส่ในเมนูส้มตำรับประทานกันตามใจชอบ
โดยใช้วิธีการปรุงน้ำส้มตำเป็นรสชาติพื้นฐานจากนั้นจึงตำคลุกเคล้ากับวัตถุดิบหรือวิธีการกินของแต่ละท้องถิ่นหรือบุคคล นอกจากเมืองไทยจะเป็นเมืองที่อุดมด้วยผลหมากรากไม้รสชาติดีแล้ว ส้มตำยังเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีเมนูส้มตำผลไม้ขึ้น ทั้งตำหมากไม้ (ตำผลไม้รวม) ตำหมากม่วง (ตำมะม่วง) ตำหมากขาม (ตำมะขาม) ตำหมากกล้วย (ตำกล้วย) ตำหมากยอ (ตำลูกยอ) ตำหมากต้อง (ตำกระท้อน) ตำหมากเดื่อ (ตำลูกมะเดื่อ) ตำหมากนัด (ตำสับปะรด)
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ส้มตำผลไม้’ เป็นอาหารประเภทส้มตำที่เป็นที่นิยมในหมู่คนที่ชอบทานผลไม้ ด้วยรสชาติของส้มตำที่มีความเผ็ด รสจัดจัด เมื่อนำมารับประทานคู่กับผลไม้ที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ เนื้อกรอบ รสเปรี้ยวอมหวาน จึงเกิดเป็นรสชาติที่ครบเครื่องและครบรส ที่สำคัญยังมีรสเผ็ดที่ช่วยให้เจริญอาหารจนหยุดรับประทานไม่ได้
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตำพริกขี้หนูและกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลโตนด ใส่มะเขือเทศและถั่วฝักยาวตามลงไป
ใส่ผลไม้ต่าง ๆ ลงไปทั้งแอปเปิ้ลแดง แอปเปิ้ลเขียว องุ่น และมะละกอสุก
คลุกเคล้าให้เข้ากัน
จัดใส่จานและโรยหน้าด้วยกุ้งแห้งและถั่วลิสง (หรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์)
อ้างอิง
* “ECPGR Malus/Pyrus Working Group Members”. Ecpgr.cgiar.org. 22 July 2002. Retrieved 25 August 2014.
“Apple – Malus domestica”. Natural England. Archived from the original on 12 May 2008. Retrieved 22 January 2008.
** “ECPGR Malus/Pyrus Working Group Members”. Ecpgr.cgiar.org. 22 July 2002. Retrieved 25 August 2014.
“Apple – Malus domestica”. Natural England. Archived from the original on 12 May 2008. Retrieved 22 January 2008.
*** Wang Y, et al. Effects of different ascorbic acid doses on the mortality of critically ill patients: a metaanalysis. Annals of intensive care. 2019;9(1):58
Hemilä H, Chalker E. Vitamin C can shorten the length of stay in the ICU: a meta-analysis. Nutrients. 2019;11(4):708
**** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
***** Structure for peptides C01.001: papain. [online] source :. https://www.ebi.ac.uk/merops/cgibin/structure?mid=C01.001 . 9 July 2020 ,
Rawlings, N.D., Barrett, A.J., Thomas, P.D., Huang, X., Bateman, A. & Finn, R.D. (2018) The MEROPS database of proteolytic enzymes, their substrates and inhibitors in 2017 and a comparison with peptidases in the PANTHER
database. Nucleic Acids Res 46, D624-D632.
****** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
******* Hemilä H, Chalker E. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, 1. DOI: 10.1002/14651858.CD000980.pub4
ผศ.ดร. เอกราช บำรุงพืชน์, สมุนไพรและสารพฤกษเคมี
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล – www.medplant.mahidol.ac.th