เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ส้มตำ ยังไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่า มะละกอดิบนำมาปรุงเป็นส้มตำครั้งแรกเมื่อใด หากพิจารณาที่มาของส่วนประกอบต่าง ๆ ของส้มตำแต่ละชนิด จะเริ่มเห็นความเป็นมาของส้มตำ เริ่มจาก ‘มะละกอ’ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในขณะที่ชาวฮอลันดาสันนิษฐานว่า อาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีทูตชาวฝรั่งเศสมาเยือนกรุงศรีอยุธยา และได้เขียนบันทึกว่า มะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริก ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้
ส่วนในตำราอาหารเก่าอย่าง ‘ตำรับเยาวภา’ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท มีอาหารที่เรียกว่า ‘ข้าวมันส้มตำ’ มีส่วนประกอบสำคัญคือ ข้าวมันหุงด้วยกะทิ และส้มตำซึ่งใช้มะละกอเป็นหลัก แต่มีส่วนผสมของกุ้งแห้งกับถั่วลิสงป่นมากกว่าสูตรของคนอีสาน และปรุงรสชาติแบบนุ่มนวล รสไม่จัด และค่อนข้างมีรสหวานนำ
ส้มตำในภาษาลาวมีชื่อเรียกว่า ตำหมากหุ่ง หรือตำบักหุ่ง (หมากหุ่ง หมายถึง มะละกอ) บางครั้งถูกเรียกว่า ตำส้ม ซึ่งคำว่า ส้ม แปลว่า เปรี้ยว ดังนั้นคำว่า ส้มตำ จึงเป็นคำภาษาลาวที่ถูกนำมาเรียกโดยคนไทย สื่อถึงอาหารประเภทตำที่มีรสชาติเปรี้ยว
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ส้มตำผักสด’ เป็นอาหารรสเผ็ดประจำท้องถิ่นอีสาน นิยมรับประทานคู่กับข้าวเหนียวและไก่ย่าง วิธีปรุงส้มตำคือ นำมะละกอดิบมาสับ แล้วฝาน หรือขูดให้เป็นเส้น คลุกเคล้าในครกพร้อมวัตถุดิบอื่น ๆ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา และมะนาว ส้มตำหนึ่งจานจึงเต็มไปด้วยวัตถุดิบมากสรรพคุณ
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตำพริกขี้หนูและกระเทียมให้พอเข้ากัน แล้วใส่มะเขือเทศและถั่วฝักยาวตามลงไป
ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลโตนด และมะนาว
ใส่มะละกอลงไป แล้วตำให้พอเข้ากัน
จัดใส่จานและโรยหน้าด้วยกุ้งแห้งและถั่วลิสง (หรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์)
อ้างอิง
** วิมล ศรีศุข. ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article
*** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
**** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659