เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ต้มส้มเป็นอาหารประเภทแกงพื้นเมืองที่ทำกินกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เมื่อได้โอกาสทำเมนูปลา การนำปลามาแกงมักเป็นตัวเลือกวิธีการปรุงอันดับต้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ต้มโคล้ง ต้มส้ม วิธีต่าง ๆ ดังกล่าวทำให้รับประทานปลาได้ง่ายขึ้น มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการ ทั้งจากสมุนไพรที่ใช้แกงและเนื้อปลาที่ได้จากแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ของไทย
เมื่อกล่าวถึง ต้มส้ม คนไทยโบราณใช้คำว่า ‘ส้ม’ เพื่อบ่งบอกถึงรสเปรี้ยว อาหารประเภทแกงที่ชูรสเปรี้ยวนำจึงมีส่วนผสมที่ให้รสเปรี้ยว ไม่ว่าจะเป็นมะขามเปียก มะขามแขก น้ำส้มน้ำตาลโตนด ตะลิงปลิง หรือดอกกระเจี๊ยบสด
ต้มส้มในแต่ละพื้นที่มักมีสูตรเฉพาะตัว เช่น ต้มส้มของคนลาว-อีสานเป็นต้มส้มรสเปรี้ยว น้ำใส ๆ ใส่ใบไม้หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือทางจันทบุรีก็มี ‘เลียงส้ม’ คือต้มผักหรือปลาไว้ซดน้ำ ใส่ผลไม้เปรี้ยวจัดอย่างเช่น ระกำ จะเห็นได้ว่าต้มส้มแต่เดิมมีความหมายค่อนข้างกว้างและหลากหลาย แต่มีลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งคือ มีรสเปรี้ยว หรือ ‘ส้ม’ นั่นเอง
หากลองแยกสูตรเครื่องแกงของต้มส้ม ก็จะพบว่าเครื่องแกงคืออย่างเดียวกันกับแกงเลียงสูตรมาตรฐาน ประกอบด้วยหอมแดง พริกไทย กะปิ (กุ้งแห้งจะมีหรือไม่ก็ตามชอบ) แสดงถึงความคล้ายคลึงเชื่อมโยงกันของกับข้าวสูตรเก่า ๆ ได้ดีทีเดียว
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ต้มส้มมะขามเปียกบำรุงช่องท้อง’ เป็นแกงน้ำใสสีน้ำตาลแดงโด่นเด่นทั้งสามรส เปรี้ยม เค็มและหวาน มีการใส่ขิงซอย ต้นหอมผักชีหั่น หอมแดง ปรุงรสชาติเปรี้ยวด้วยน้ำมะขามเปียก นิยมเพิ่มโปรตีนด้วยเนื้อปลา เช่น ปลาทู ปลากระบอก ปลากะพง หรือปลานิล เพราะเข้ากันได้ดีกับน้ำแกงรสจัดจ้าน
ส่วนผสม
วิธีการทำ
นำพริก รากผักชี กระเทียม พริกไทย และกะปิ ใส่ลงไปในครกแล้วโขลกเข้ากัน เป็นเครื่องพริกแกง
ตั้งเตาต้มน้ำสต๊อกไก่จนพอเดือด แล้วจึงใส่เครื่องพริกแกงที่เตรียมไว้ลงไป
ใส่ต้นหอมลงไป แล้วปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาลโตนด ต้มจนพอน้ำเดือดดี
ใส่เนื้อปลากะพงลงไปต้มจนสุก
ยกออกจากเตาและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
*** Maurizio R and Cristiana V, Establishing the tolerability and performance of tamarind seed polysaccharide (TSP) in treating dry eye syndrome: results of a clinical study, , 29 March 2007
**** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.
***** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.