เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
หมูผัดพริกไทยดำ เมื่อพิจารณาจากชื่อเมนูแล้ว จะเห็นได้ว่ามีพริกไทยดำเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงรสหมูให้มีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมของพริกไทย ก่อนจะนำไปผัดกับวัตถุดิบอื่น ๆ การนำพริกไทยมาหมักหรือใช้ปรุงอาหารประเภทเนื้อนั้นก็เพื่อชูรสเนื้อไม่ให้รสอ่อนเกินไป
พริกไทยเป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศ มีกลิ่นฉุนและเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร หากนำมาทำให้แห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกจะกลายเป็นสีดำเมื่อแห้ง ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พริกไทยใช้ประกอบอาหารทั้งแบบแห้งและผลสดที่มีสีเขียว ส่วนผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น พริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก
เมื่อพริกไทยเข้ามาในไทยในช่วงสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นช่วงที่มีการค้าขายกับชาวต่างชาติ เดิมทีนั้นเราเรียก พริกไทย ว่า พริก แต่เมื่อพริกเม็ดสีแดงเข้ามา จึงเปลี่ยนเป็นชื่อ พริกไทย อย่างไรก็ดี พริกไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือเรียกพริกไทยว่า พริกน้อย ภาคใต้เรียกว่า พริก ส่วนภาคกลางเรียก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน หรือ พริกขี้นก
สำหรับประเทศไทยมีการปลูกพริกไทยมากที่สุดในบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘หมูหมักพริกไทยดำสามหอม’ เป็นเมนูไทยปรุงง่าย มีหมูเป็นวัตถุดิบหลักช่วยต้านอาการอักเสบ ส่วนใหญ่นิยมใช้ส่วนสันคอหมูมาใช้ประกอบเมนูนี้ หั่นเป็นชิ้นพอดีคำก่อนจะหมักด้วยพริกไทยดำเพื่อเพิ่มความหอมอร่อย เมื่อหมูหมักได้ที่ก็นำมาผัดด้วยไฟกลางจนสุกพร้อม ๆ กับผักสมุนไพรต่าง ๆ เน้นหนักที่พริกไทยดำจนกลิ่มหอมฉุย
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งกระทะใส่น้ำมันลงไป รอจนน้ำมันพอร้อน แล้วใส่กระเทียมและพริกไทยลงไปผัดจนกลิ่นหอม
ใส่สันในหมูลงไปผัดจนพอสุก แล้วใส่ผักต่าง ๆ ลงไป ทั้งพริกหวาน หอมใหญ่ ต้นหอม และพริกแดง
ปรุงรสด้วย น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง และน้ำตาล
จัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.
** Kawata A, et al. Anti-inflammatory Activity of β-Carotene, Lycopene and Tri-n-butylborane, a Scavenger of Reactive Oxygen Species. In Vivo. 2018; 32(2): 255–64
Ross A. Vitamin A and Carotenoids. In: Shils M, Shike M, Ross A, Caballero B, Cousins R, eds. Modern Nutrition in Health and Disease. 10th ed. Baltimore, MD: Lippincott Williams & Wilkins; 2006:351-75.
Trasino SE. A role for retinoids in the treatment of COVID‐19?. Clinical and Experimental Pharmacology and Physiology. 2020 Oct;47(10):1765-7.
Li R, Wu K, Li Y, Liang X, Tse WK, Yang L, Lai KP. Revealing the targets and mechanisms of vitamin A in the treatment of COVID-19. Aging (Albany NY). 2020 Aug 15;12(15):15784.
*** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
**** Bakhru HK. Healing through natural foods. 16. Mumbai: Jaico; 2015.
***** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.