เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
หลายคนอาจสงสัยว่าชื่อแกง “ฉู่ฉี่” มีที่มาจากอะไร จริง ๆ แล้วที่มาของแกง “ฉู่ฉี่” ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด คนโบราณอธิบายไว้ว่า ‘ฉู่ฉี่’ คือเสียงที่จะได้ยินเมื่อทำอาหารชนิดนี้ เสียง “ฉู่ฉี่” เกิดจากการเคี่ยวกะทิให้แตกมันผสมกับพริกแกง เวลากะทิเดือดจะมีเสียงดังฉู่ฉี่ พอเคี่ยวให้น้ำงวด หอมเครื่องแกง ให้นำมาราดบนตัวปลา ปรุงรสเล็กน้อย เพื่อทำให้รสชาติเข้มข้นมากยิ่งขึ้น จากนั้นโรยพริกชี้ฟ้าทั้งสีแดงและสีเขียวเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฉู่ฉี่มากยิ่งขึ้น บางสูตรใช้เนื้อมะพร้าวขูดผสมเพื่อเพิ่มความมัน
วิธีทำฉู่ฉี่สูตรดั้งเดิมปรากฏในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ (พ.ศ. 2452) กล่าวถึงสูตร ‘ปลาเนื้ออ่อนฉู่ฉี่น้ำ’ ว่า ปลาเป็นวัตถุดิบแรกที่นิยมนำมาทำเมนูฉู่ฉี่ ปลาที่นำมาทำฉู่ฉี่นั้นมีทั้งปลาทู ปลาเนื้ออ่อน ปลาหมอ และปลาสดชนิดอื่น ๆ แกงฉู่ฉี่นั้นไม่ได้มีเพียงแบบน้ำขลุกขลิกหรือแบบเป็นน้ำแกงเท่านั้น แต่ยังมีแกงฉู่ฉี่แบบแห้งซึ่งเป็นสูตรโบราณ ฉู่ฉี่แบบแห้งนี้มักจะใส่เนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทนเนื้อปลา ในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ข้างต้นก็บันทึกสูตร ‘หมูฉู่ฉี่แห้ง’ เอาไว้เช่นกัน
ปัจจุบัน มีการนำเนื้อสัตว์และผักหลายชนิดมาปรุงแบบแกงฉู่ฉี่ตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ปรุง ‘ฉู่ฉี่มะระขี้นก’ ก็เป็นหนึ่งในเมนูฉู่ฉี่ยุคใหม่ ด้วยรสขมอ่อน ๆ เข้ากับความเข้มข้น หวาน เค็ม มันของกะทิได้เป็นอย่างดี ผนวกกับสรรพคุณทางยามากมาย ฉู่ฉี่มะระขี้นกจึงกลายเป็นเมนูยอดนิยมที่อยากแนะนำให้ได้ลองรับประทานกัน
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ฉู่ฉี่มะระขี้นกกระชายหอม’ มี ‘มะระขี้นก’ เป็นส่วนประกอบหลัก ‘มะระขี้นก’ มีวิตามินซีสูง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัส ช่วยป้องกันโรค COVID-19 อีกทั้งยังมี ‘ใบโหระพา’ มีวิตามินและแร่ธาตุสูง ที่สำคัญอุดมด้วยด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ดีต่อเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
ส่วนผสม
วิธีการทำ
นำมะระขี้นกมาขยำกับน้ำเกลือ เพื่อไม่ให้มะระขี้นกมีรสขม
ตั้งเตาจนน้ำเดือด แล้วนำมะระขี้นกลงไปลวกจนพอสุก
ผัดเครื่องพริกแกงฉู่ฉี่กับกะทิ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลโตนด และพริกไทย
นำพริกแกงที่เสร็จแล้วมาราดลงมะระขี้นกที่เตรียมไว้
ราดหัวกะทิลงไปเล็กน้อย ตกแต่งด้วยพริกและใบมะกรูด แล้วจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Fachinan R, et al. Evidence of Immunosuppressive and Th2 Immune Polarizing Effects of Antidiabetic Momordica charantia Fruit Juice. BioMed Research International. 2017. Article ID 9478048
**Chong TE, et al. Boesenbergia rotunda: From Ethnomedicine to Drug Discovery. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2012; Article ID 473637
***Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.