เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
จากหลักฐานทางโบราณคดีค้นพบว่าคนไทยโบราณมีครกดินเผาจากเตาเผาแถบสิงห์บุรี ปทุมธานี หรือสุโขทัย ใช้กันมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ครกดินเผานี้ใช้สำหรับโขลกพริกไทย พริกขี้หนู หัวหอม และกระเทียม เพื่อตำเครื่องแกง เครื่องแกงที่ได้นำมาละลายน้ำ ตั้งหม้อ ใส่ผัก ทำเป็นแกงซดน้ำง่าย ๆ แกงที่ว่านี้สอดคล้องกับข้อความในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ ที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2416 ที่บันทึกความหมายของแกงเลียงในยุคต้นรัตนโกสินทร์ไว้ว่า “แกงเลียง เขาเอาปลาย่าง กะปิ เกลือ หัวหอม ตำละลายน้ำเป็นน้ำแกง แล้วตั้งไฟให้ร้อนใส่ผักตามใจชอบ”
แกงเลียงถือว่าเป็นกับข้าวคู่ครัวไทยที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์มายาวนาน จนมีหน้าตาแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่แล้วในท้องถิ่นต่าง ๆ เดิมเรียกแกงเลียงว่า ‘เลียง’ ก่อนจะกลายมาเป็นชื่อ ‘แกงเลียง’ ตามที่บันทึกอยู่ในตำราอาหารไทยมาตรฐานในปัจจุบัน ซึ่งมีวิธีการปรุงและหน้าตาที่ตายตัวคือ เป็นแกงน้ำใส ๆ ใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของ หอมแดง พริกไทย กะปิ กระชาย และกุ้งแห้ง แล้วใส่ผักจำพวกบวบ ข้าวโพดอ่อน ยอดตำลึง ฟักทอง และเติมเนื้อสัตว์ เช่น กุ้งสด ก่อนใส่ใบแมงลักตบท้ายให้มีกลิ่นหอมเย้ายวนใจ
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘แกงเลียงน้ำในใบแมงลัก’ เป็นอาหารประเภทแกงอย่างไทยที่อุดมไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนผสม
วิธีการทำ
นำกะปิ กระชาย หอมแดง ตะไคร้ รากผักชี พริกไทย พริกขี้หนู และกุ้งแห้ง ใส่ลงไปในครกแล้วโขลกเข้ากัน เป็นเครื่องพริกแกง
ตั้งเตารอจนน้ำเดือด แล้วใส่เครื่องพริกแกงลงไปและปรุงรสด้วยน้ำปลา
จัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Chong TE, et al. Boesenbergia rotunda: From Ethnomedicine to Drug Discovery. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2012; Article ID 473637
**Andarwulan et al., 2010