เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“แกงส้มผักรวม” เป็นอาหารไทยภาคกลาง มีรสเปรี้ยวนำ เหตุที่มีชื่อเรียกว่า “แกงส้ม” สันนิษฐานว่า เพราะน้ำแกงมีสีส้ม และใช้มะขามเปียกเป็นส่วนผสม ทำให้มีรสเปรี้ยว เมนูนี้รวมเนื้อสัตว์กับผักนานาชนิดที่อาจได้มาจากการซื้อ จากแปลงผักสวนครัว หรือผักริมรั้ว ไม่ว่าจะเป็นผักชนิดใดก็กลมกล่อมเข้ากับน้ำแกง ยิ่งเพิ่มปริมาณผัก ยิ่งเป็นหม้อที่อุดมด้วยวิตามินและใยอาหาร ชวนให้รู้สึกเจริญอาหารเป็นอย่างมาก
แกงส้มเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันมาก ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ จึงทำให้ขั้นตอนการทำอาหารและรสชาติของแต่ละภาคต่างกันออกไป ทางภาคเหนือจะเรียกว่า ‘แกงส้มเมือง’ ใส่ส้มป่อยและน้ำมะกรูดที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของแกงส้มภาคเหนือ ส่วนแกงส้มภาคใต้จะเรียกว่า ‘แกงเหลือง’ มีรสเผ็ดร้อนเข้มข้น เพราะใส่เครื่องเทศที่เป็นเครื่องสมุนไพรอย่างใต้เพิ่มเข้าไป จุดเด่นของแกงเหลืองคือ การใส่ทั้งมะนาวและมะขาม พร้อมใส่ขมิ้นเพิ่มอีกด้วย
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘แกงส้มสูตรกระชายมะขามเปียก’ เป็นอาหารไทยประเภทแกงที่ครบรสชาติแห่งความเป็นไทย ทั้งรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว และหวานปะแล่ม ความโดดเด่น คือ รสเปรี้ยวนำจากมะขามเปียกอันเป็นแหล่งวิตามินซีชั้นดี ตามด้วยสรรพคุณจากผักหลายชนิด ทำให้เมนูนี้อุดมด้วยใยอาหาร มีไขมันต่ำ พร้อมวิตามินซีและสารกลุ่มแอนโทไซยานินจากผักสมุนไพรต่าง ๆ ซึ่งแกงส้มของแต่ละภาคจะมีขั้นตอนการปรุงอาหารแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบในท้องถิ่น
ส่วนผสม
วิธีการทำ
โขลกพริกแกงส้มพร้อมเนื้อปลากะพงลวกให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่เก็บเนื้อปลาที่ยังไม่ลวกใส่ในน้ำแกงส้มในภายหลัง และหลังจากนั้น ตั้งเตาต้มน้ำสต๊อกจนเดือด แล้วจึงใส่เครื่องพริกแกงส้มลงไป คนละลายให้เข้ากัน
ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก และน้ำตาลโตนด
ใส่ปลาและผักต่าง ๆ ลงไปต้มจนสุก
ต้มจนน้ำเดือดและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Chong TE, et al. Boesenbergia rotunda: From Ethnomedicine to Drug Discovery. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2012; Article ID 473637
**Anitra C. Carr and Silvia Maggini. Vitamin C and Immune Function. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5707683/
***Kawata A, et al. Anti-inflammatory Activity of β-Carotene, Lycopene and Tri-n-butylborane, a Scavenger of Reactive Oxygen Species. In Vivo. 2018; 32(2): 255–64