เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“คั่วกลิ้ง” เป็นอาหารจานอร่อยที่อยู่คู่กับชาวปักษ์ใต้มาช้านาน เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาของภาคใต้ที่ใช้สมุนไพรรังสรรค์อาหารได้อย่างโดดเด่น โดยเฉพาะสีเหลืองของขมิ้นที่สร้างเอกลักษณ์ให้เมนูนี้เป็นที่จดจำ นอกจากรสชาติจัดของคั่วกลิ้งที่เป็นลักษณะเด่นแล้ว ไม่พบหลักฐานว่า อาหารนี้เกิดขึ้นเมื่อใด หากสอบถามคนในท้องถิ่น หลายท่านคงให้คำตอบตรงกันว่า คำเรียก ‘คั่วกลิ้ง’ เป็นคำอธิบายลักษณะวิธีการปรุง ที่ต้องคั่วเนื้อสัตว์ในกระทะกับเครื่องแกงให้แห้ง จนสามารถ ‘กลิ้ง’ ในกระทะได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คั่วจนกลิ้งได้นั่นเอง ดังนั้น จึงมีคำเตือนแซวเอาไว้ว่า “จะทำคั่วกลิ้ง อย่าใส่น้ำมันเยอะ เพราะเดี๋ยวคั่วจะไม่กลิ้ง กลายเป็นผัดพริกแกงไป”
ครัวไทยภาคกลางปรากฏสูตรอาหาร 2 สูตร ที่มีกรรมวิธีเดียวกัน คือ สูตร ‘เนื้ออร่อย’ ในหนังสือรวมสูตรอาหารของคุณจิตต์สมาน โกมลฐิติ ที่ตีพิมพ์ราวช่วงหลังกึ่งพุทธกาล และสูตร ‘เนื้อคั่ว’ ของ ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ซึ่งทั้งสองเมนูนี้มีวิธีปรุงคล้ายคั่วกลิ้ง คือ ผัดชิ้นเนื้อวัวในกระทะน้ำมันกับพริกแกงเผ็ด จนเนื้อนั้นค่อนข้างแห้ง แล้วรับประทานกับผักสดตามใจชอบ
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘คั่วกลิ้งแห้งขมิ้นเหลืองปักษ์ใต้’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
คั่วกลิ้ง อาหารรสชาติเผ็ดร้อนจากภาคใต้ ที่ใช้เนื้อสัตว์ผัดคลุกเคล้ากับพริกแกงจนแห้ง เมนูนี้โดดเด่นด้วยสมุนไพรหลากชนิด เช่น หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และขมิ้น ส่วนผสมหลักที่ขาดไม่ได้ของเมนูนี้คือ ‘ขมิ้น’ ที่ให้ฤทธิ์เป็นกรดช่วยฆ่าเชื้อโรค และทำลายเชื้อไวรัสที่อาจปนเปื้อนมากับวัตถุดิบอื่น ๆ คั่วกลิ้งจึงจัดเป็นอาหารหมวดยาอย่างแท้จริง
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป รอจนน้ำมันร้อนแล้วจึงใส่เครื่องพริกแกงคั่วกลิ้งลงไปผัดน้ำมันจนมีกลิ่นหอม แล้วจึงค่อยใส่กะปิและน้ำตาลโตนดตามลงไป แล้วผัดให้เข้ากัน
ใส่หมูสับลงไป แล้วผัดจนหมูสุก
ใส่พริกไทยอ่อน พริก และใบมะกรูด ลงไป
ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากันและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Susan J. Hewlings and Douglas S. Kalman, Curcumin: A Review of Its’ Effects on Human Health
**Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.***Russo M, Spagnuolo C, Tedesco,
The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.