เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ผัดขี้เมาเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เมนูนี้มีที่มาจากการผสมผสานกันระหว่างอาหารไทยเจ้าถิ่นกับอาหารของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แตกต่างจากผัดกะเพรา ผัดฉ่า ผัดเผ็ด และผัดผักรวมมิตร คำว่า ‘ขี้เมา’ นั้นเกิดจากพฤติกรรมของผู้ที่ชอบดื่มสุรา ซึ่งมักจะหากับแกล้มจากของเหลือที่มีในตู้เย็น มีอะไรเหลือก็นำมาปรุงผสมกันโดยไม่มีสูตรตายตัวจนเกิดเป็นผัดขี้เมาแสนอร่อยที่นิยมทานกันมาถึงปัจจุบัน ผัดขี้เมาเป็นเมนูเส้นที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวผัดกับกับซอสถั่วเหลือง น้ำปลา กระเทียม และเนื้อชนิดต่าง ๆ บางครั้งอาจใส่เต้าหู้เพื่อเพิ่มสัมผัสที่นุ่มนวลเมื่อเคี้ยว นอกจากนี้ยังใส่พริก ถั่ว ใบกะเพรา หรือบางสูตรอาจใช้ใบโหระพาแทน ผัดขี้เมานี้มีวิวัฒนาการที่ทดลองปรุงกับวัตถุดิบชนิดใหม่ ๆ มาโดยตลอด สูตรที่ได้รับความนิยมอาจปรุงด้วยวัตถุดิบจากทะเล เช่น กุ้ง ปู ปลา ผัดกับพริกไทยอ่อน นอกจากนี้ยังมีการผัดขี้เมาแบบไม่ใส่เส้นหรือเปลี่ยนจากเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นเส้นแบบอื่น ๆ เช่น เส้นสปาเกตตี
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘สปาเกตตีขี้เมากระชายพริกไทยอ่อน’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
เมนูฉบับประยุกต์ที่ผสมผสานความอร่อยระหว่างอาหารไทยและตะวันตกอย่างลงตัว ใช้ สปาเกตตีมาปรุงแบบผัดขี้เมา ทำให้มีรสจัด มีความเผ็ด และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ผัดขี้เมามีวัตถุดิบที่ชูกลิ่นและรสชาติอย่างกระชาย ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายเป็นยาอายุวัฒนะ และยังมีใบกะเพราที่อุดมด้วยสารโอเรียนทิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ลวกเส้นสปาเกตตีประมาณ 8-10 นาที หรือตามที่ระบุข้างซอง
ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงใส่พริกแห้งกับกระเทียมลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม
ใส่กุ้งลงไปผัดจนสุก แล้วใส่สมุนไพร พริกแดง กระชาย พริกไทยอ่อน และใบมะกรูด ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมันหอย น้ำตาล และพริกไทย
ใส่ใบกะเพราลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Chong TE, et al. Boesenbergia rotunda: From Ethnomedicine to Drug Discovery. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2012; Article ID 473637
**Tsai KW. Immunomodulatory effects of aqueous extract of Ocimum basilicum (Linn.) and some of its constituents on human immune cells. Biology. 2011; 5(7): 375-85