เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์” มีที่มาจากอาหารตำรับเสฉวนชื่อ “กงเป่าจีติง” หรือเรียกแบบไทย ๆ ว่า “ไก่ผัดพิทักษ์วัง” เมนูนี้นิยมรับประทานอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวจีนและชาวต่างชาติ ด้วยเป็นเมนูที่ครบรส เปรี้ยวหวานเค็มเผ็ดลงตัว กล่าวกันว่า “ไก่ผัดพิทักษ์วัง” นี้มีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเสียงเฟิงแห่งราชวงศ์ชิง โดยมีที่มาจาก ติงเป่าจิน ขุนนางใหญ่ชาวกุ้ยโจวที่ชอบรับประทานไก่ผัดถั่วลิสงและพริกแห้งเป็นอย่างมาก ยามมีงานเลี้ยงก็สั่งให้พ่อครัวตระเตรียมไว้รับรองแขกไม่เคยขาด ในเวลาต่อมาเขาได้สร้างประโยชน์ให้ประเทศจนได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้พิทักษ์จากราชสำนัก เมนูไก่ผัดของเขาจึงมีฉายาตามเขาว่าไก่ผัดพิทักษ์วังนั่นเอง
ในประเทศไทย เมนูนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายสามารถหาได้ตามร้านอาหารจีน ภายหลังมีการดัดแปลงเมนูนี้ด้วยการใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง จึงเรียกเมนูนี้ว่า “ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์” ในเวลาต่อมานั่นเอง
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์เสริมแร่ธาตุ’ เป็นเมนูที่มี ‘เม็ดมะม่วงหิมพานต์’ เป็นวัตถุดิบหลัก อุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสีที่มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมี ‘หอมใหญ่’ อุดมด้วยสารเคอร์ซีติน (quercetin) มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส COVID-19
ส่วนผสม
วิธีการทำ
หั่นวัตถุดิบต่าง ๆ เช่น สะโพกไก่ พริกหยวก หอมใหญ่ ต้นหอม กระเทียม เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดพอดีคำ
นำไก่ไปปรุงรสด้วยเกลือพริกไทยแล้วคลุกแป้งสาลี หลังจากนั้นนำไก่ไปทอดในน้ำมันจนสุก แล้วนำขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน
นำกระเทียมและพริกแห้งมาผัดกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม ใส่ไก่ที่ทอดแล้วพร้อมกับหอมใหญ่ พริกหวาน และต้นหอม ผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วย ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย น้ำพริกเผา น้ำตาล แล้วโรยเม็ดมะม่วงหิมพานต์
ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Food-navigator.com. Fight COVID-19 with dairy? China industry associations issue consumption guidelines to ‘build immune resistance.
Turkish Dietetic Association. Turkish Dietetic Association’s Recommendations on Nutrition and COVID-19
**Read SA, et al. The Role of Zinc in Antiviral Immunity. Advances in Nutrition. 2019;10:696–710; doi: https://doi.org/10.1093/advances/nmz013
***Kawata A, et al. Anti-inflammatory Activity of β-Carotene, Lycopene and Tri-n-butylborane, a Scavenger of Reactive Oxygen Species. In Vivo. 2018; 32(2): 255–64