Search
ข้าวผัดกะเพรา-cover1_4
Immune Booster (เมนูเสริมภูมิต้านทาน)

ผัดกะเพราบรรเทาหวัด

เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี

Story

“ข้าวผัดกะเพรา” ได้รับการต่อยอดมาจากเมนูยอดนิยมอย่างผัดกะเพรา ซึ่งปกติจะผัดแยกแล้วราดบนข้าว แต่ประยุกต์ใหม่โดยการผัดรวมกับข้าว จนกลายเป็นข้าวผัดกะเพราแสนอร่อย ที่มาของเมนูผัดกะเพรา สันนิษฐานว่า อาจเกิดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 7 เพราะคนจีนนำมาขายในร้านอาหารตามสั่ง แต่ใบกะเพรานั้นเป็นที่รู้จักมานานแล้ว ในเอกสารจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกไว้ว่า “กะเพรา ผักลางชนิดที่มีกลิ่นดี” จึงคาดว่าผัดกะเพราเพิ่งได้รับความนิยมราว ๆ พ.ศ. 2500 และสันนิษฐานว่า ถูกดัดแปลงมาจากอาหารตำรับจีนที่มีการใส่เต้าเจี้ยวดำ ผัดกับกระเทียมเจียว และใส่เนื้อสัตว์ด้วย อย่างไรก็ดี มีข้อสันนิษฐานบางประการกล่าวว่า เมนูนี้เลียนแบบมาจากเนื้อผัดใบยี่หร่า แต่กะเพราสูตรดั้งเดิมของไทยจริง ๆ จะมีเพียงเนื้อสัตว์กับกะเพราเท่านั้น

ปัจจุบันผัดกะเพราได้รับการรังสรรค์หลากหลายสูตร เช่น ใส่ถั่วฝักยาว เห็ดหอม หรือแครอท แม้กระทั่งนำมาทำเป็นข้าวผัดก็มีรสชาติเยี่ยม รับประทานง่าย อร่อย และสะดวก

ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร

Health Benefits

‘ข้าวผัดกะเพราบรรเทาหวัด’ ข้าวผัดกะเพรารสหอมอวลกลิ่นใบกะเพราที่ให้กลิ่นฉุนเผ็ดร้อน สร้างเอกลักษณ์ให้เมนู จนเป็นอีกหนึ่งในเมนูคู่ครัวไทย

  • ‘ใบกะเพรา’ มีสารสำคัญที่เรียกว่า คาร์วาครอล ช่วยบรรเทาอาการหวัด และมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่*
  • ‘พริก’ สารเเคปไซซินให้รสเผ็ด ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ**
  • ‘กระเทียม’ เสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ***

ส่วนผสม

Ingredients

  • หมูสับ
  • ใบกะเพรา 10 กรัม
  • พริก 10 กรัม
  • พริกขี้หนู 10 กรัม
  • กระเทียม 15 กรัม
  • น้ำปลา 12 กรัม
  • ซอสถั่วเหลือง 12 กรัม
  • น้ำมันหอย 5 กรัม
  • ซีอิ๊วดำ 2 กรัม
  • น้ำตาล 2 กรัม
  • พริกไทยขาว 0.5 กรัม

วิธีการทำ

Directions

เด็ดใบกะเพรา และสับพริกขี้หนูกับกระเทียมเป็นชิ้นเล็ก ๆ

ตั้งกระทะน้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงใส่พริกขี้หนูและกระเทียมสับลงไปผัดกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม หลังจากนั้นใส่หมูสับลงไปผัดจนสุก ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วดำ น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง น้ำตาล และพริกไทย

ใส่ใบกะเพราลงไปและผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ตกแต่งจานด้วยพริกชี้ฟ้าและจัดเสิร์ฟ

อ้างอิง
* Jadhav P, et al. Assessment of potency of PC-complexed Ocimum sanctum methanol extract in embryonated eggs against Influenza virus (H1N1). Pharmacognosy Magazine. 2014; 10(Suppl 1): S86–S91
** vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
*** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659