เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“บัวลอย” เป็นขนมคู่สำรับไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ สันนิษฐานว่า สูตรในปัจจุบันมาจากตำรับของท้าวทองกีบม้าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทว่ามิใช่สูตรต้นฉบับ เพราะชนชาติใกล้เคียงในแถบตะวันออก ตั้งแต่ประเทศจีนลงมาจนถึงแหลมมลายูต่างก็มีขนมหวานลักษณะคล้ายบัวลอยอยู่เช่นกัน กล่าวคือ เป็นขนมที่มีลักษณะเป็นแป้ง ปั้นแล้วนำไปต้ม ขนมบัวลอยมีสมมุติฐานเกี่ยวกับต้นกำเนิดที่น่าสนใจอยู่ว่า เนื่องด้วยประเทศบริเวณนี้เป็นเขตอบอุ่นที่พืชตระกูลแป้งเติบโตดี เก็บผลผลิตได้ค่อนข้างสูง จึงมีการคิดค้นกระบวนการปรุงอาหารจากแป้งด้วยวิธีต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ การนำแป้งมาปั้นแล้วต้ม หลายชาติพันธุ์จึงมีการออกแบบเมนูแป้งปั้นที่คล้ายบัวลอยเป็นของตัวเอง เพียงแต่อาจมีส่วนผสมแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
บัวลอยของไทยจะใช้วิธีการปั้นแป้งเป็นลูกกลม ๆ ใส่ไส้ข้างในเป็นพืชผล ให้ความกรุบกรอบ และนำไปต้มในน้ำเดือด ก่อนที่จะตักรับประทานคู่กับน้ำเชื่อม หรือน้ำกะทิ บางสูตรก็ใส่ไข่ลงไปทำเป็นไข่หวาน หรือใส่เฉพาะไข่แดงเค็มลงไปให้มีรสเค็ม และมีความมัน กลายเป็นเมนูบัวลอยไข่หวานได้อย่างลงตัว
ในประวัติศาสตร์ไทยบัวลอยนำมาใช้เป็นขนมในงานบุญ งานเลี้ยงพระ และงานพิธีต่าง ๆ หรือฝั่งชาวไทยเชื้อสายจีนก็มีเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย (ตังโจ่ย) ที่มีการทำขนมบัวลอย หรือ ‘ขนมอี๋’ ซึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียว ปั้นเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ ผสมสีชมพูและสีขาว คล้ายการทำบัวลอยน้ำกะทิของคนไทย แต่ขนมอี๋จะใช้น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงแทนกะทิ หรือมีขนมบัวลอยจีนอีกชนิดชื่อว่า ‘ยุเหวียนเซียว’ เป็นแป้งข้าวเหนียวสอดไส้งาดำรับประทานกับน้ำขิง มีชื่อไทยก็ตรงตัวคือ ‘บัวลอยน้ำขิง’
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘บัวลอยกัญชางาดำในน้ำขิง’ ขนมไทยพื้นบ้านสูตรประยุกต์ มีกลิ่นหอมสดชื่นจากใบเตย และได้รสเผ็ดร้อนจากน้ำขิง เข้ากับความหวานมันของกะทิ และแป้งบัวลอยเหนียวนุ่ม บัวลอยสูตรนี้มีส่วนประกอบอย่าง ‘ใบกัญชา’ ที่ช่วยเพิ่มรสและมีฤทธิ์ผ่อนคลาย กลายเป็นรสชาติที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวที่ควรได้ลิ้มลองสักครั้งในชีวิต
ส่วนผสม
วิธีการทำ
คั้นน้ำจากใบกัญชา
นำน้ำจากใบกัญชามาผสมกับแป้ง
ปั้นแป้งบัวลอยเป็นแผ่น ๆ ใส่ไส้ครีมงาดำและงาดำ ปั้นเป็นก้อนกลม แล้วลวกบัวลอยในน้ำเดือดจนสุกแล้วยกขึ้นพักไว้
ต้มน้ำขิงกับน้ำตาล แล้วใส่บัวลอยที่สุกแล้วลงไปพร้อมตักเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Kawata A, et al. Anti-inflammatory Activity of β-Carotene, Lycopene and Tri-n-butylborane, a Scavenger of Reactive Oxygen Species. In Vivo. 2018; 32(2): 255–6
** Ruan CC, Liang Y, Liu JL, Tu WS, Liu ZH. Antimutagenic effect of natural foods on moldy foods in high liver cancer incidence area. Mutat Res 1992;279(1):35-40
*** Li F, Nitteranon V, Tang X, Liang J, Zhang G, Parkin KL, et al. In vitro antioxidant and anti-inflammatory activities of 1-dehydro-[6]-gingerdione, 6-shogaol, 6-dehydroshogaol and hexahydrocurcumin. Food chemistry. 2012;135:332-337.