Search
ต้มโคล้ง-cover1-3
Immune Booster (เมนูเสริมภูมิต้านทาน)

ต้มโคล้งปลาย่างหอมแดงเผาต้านหวัด

เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี

Story

แกงเผ็ดร้อนรสจัดที่เป็นอาหารพื้นบ้านของไทย คำว่า ‘โคล้ง’ สันนิษฐานว่า มีที่มาจากชื่อแกงโบราณคือ ‘โพล้ง’ ที่ใช้วัตถุดิบใกล้เคียงกับต้มโคล้งในปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะและรสชาติคล้ายต้มยำ แต่ต่างเมนูกัน ต้มโคล้งมักใช้ปลาย่าง หรือปลากรอบ ในขณะที่ต้มยำจะใช้ปลาสด หรือกุ้งสด และต้มโคล้งจะใช้มะขามเปียก หรือมะม่วง สำหรับปรุงรสเปรี้ยว ต่างจากต้มยำที่ใช้มะนาว

ที่มาของเมนูต้มโคล้งเกิดจากวิถีชีวิตคนไทยสมัยก่อน เมื่อหาปลาได้จำนวนมากในฤดูน้ำหลาก และไม่ทราบว่าจะเก็บอย่างไร จึงหาวิธีถนอมอาหารเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เช่น การใส่เกลือตากแดด ทำปลาเค็ม ปลาร้า และอื่น ๆ รวมถึงปลาย่าง ภายหลังปลาย่างถูกนำมาปรุงต่อยอดเป็นแกง ใส่พริกชี้ฟ้าแห้งที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ ลงไป กลายเป็นเมนูต้มโคล้งในที่สุด ปลาย่างและพริกชี้ฟ้าแห้งจะทำให้ต้มโคล้งมีกลิ่นหอมต่างจากต้มยำ และปรุงสะดวกกว่า เพราะส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่สามารถตุนไว้ในครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นปลากรอบ มะขามเปียก พริกชี้ฟ้าแห้ง หัวหอมแดง รวมถึงพืชผักสวนครัวที่คนไทยนิยมปลูกหรือมักมีไว้ไม่ขาดมือ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริกขี้หนู

ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร

Health Benefits

‘ต้มโคล้งปลาย่างหอมแดงเผาต้านหวัด’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
ต้มโคล้งเป็นเมนูพื้นบ้านประเภทแกงที่มีรสเผ็ดร้อน น้ำพริกแกงจะใส่หอมแดงเผา ปลาย่าง และใบมะขามอ่อน ช่วยให้เกิดรสเปรี้ยว ปรุงรสเปรี้ยวจัด เค็ม และเผ็ด ช่วงใกล้ทำอาหารเสร็จจะโรยด้วยพริกชี้ฟ้าแห้ง เพื่อให้แกงมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ต้มโคล้งยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรอย่าง ข่า และหอมแดง ที่มีสารสำคัญช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ ป้องกันโรคโควิด-19 รับประทานเพื่อสุขภาพได้ทั้งครอบครัว

  • ‘หอมแดง’ มีฤทธิ์ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการอักเสบ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส*
  • ‘ข่า’ มีฤทธิ์ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการอักเสบ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส**
  • ‘ใบโหระพา’ มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ และปรับภูมิคุ้มกัน***
  • ‘ผักชีฝรั่ง’ ช่วยเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น จึงป้องกันการเจ็บป่วย และต้านการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกายได้

ส่วนผสม

Ingredients

  • ปลาดุกย่างรมควัน 100 กรัม
  • ข่า 10 กรัม
  • มะกรูด 2 กรัม
  • หอมแดง 20 กรัม
  • พริกแห้ง 3 กรัม
  • ใบกะเพรา 3 กรัม
  • ผักชีฝรั่ง 3 กรัม
  • น้ำมะนาว 50 กรัม
  • น้ำสต๊อกไก่ 500 กรัม
  • น้ำปลา 50 กรัม

วิธีการทำ

Directions

ตั้งเตา ใส่น้ำสต๊อกไก่ลงไปต้มจนเดือด แล้วจึงใส่ใบกะเพรา หอมแดง ข่า พริกแห้ง และใบมะกรูด ลงไป

ปรุงรสด้วยน้ำปลา

ใส่ปลาดุกย่างรมควันลงไปและโรยใบกะเพราลงไปในขณะที่น้ำเดือด

หลังจากนั้นปิดไฟแล้วเติมน้ำมะนาวลงไปและจัดเสิร์ฟ

อ้างอิง
*Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
**Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
***Tsai KW. Immunomodulatory effects of aqueous extract of Ocimum basilicum (Linn.) and some of its constituents on human immune cells. Biology. 2011; 5(7): 375-85