เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
มะแขว่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร มีหนามที่ต้นและกิ่ง มีช่อดอกเป็นกลุ่มย่อย พอเมล็ดแก่จะแตกออกเป็นเมล็ดสีน้ำตาลคล้าย ๆ เมล็ดผักชี ให้กลิ่นหอม มะแขว่นเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ภาคเหนือของไทยขึ้นไปจนถึงตอนใต้ของจีน สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมืองน่านส่งมะแขว่นเป็นเครื่องบรรณาการให้ราชสำนักด้วย ปัจจุบันแหล่งปลูกมะแขว่นที่สำคัญคือ อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
ถึงแม้มะแขว่นจะเป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้านสารพัดชนิดของคนน่านมานานแล้ว แต่ในช่วงหลายปีมานี้ ไก่ทอดมะแขว่น ได้รับความนิยมจนกลายเป็นอาหารยอดนิยมประจำเมืองน่าน เพราะเชฟชาวน่านคนหนึ่งได้ปรุงถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จ ฯ เยือนเมืองน่านปี พ.ศ. 2552
ต่อมา ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ฯ จังหวัดน่านจึงส่งเสริมให้ปลูกมะแขว่น เพื่อฟื้นฟูป่าและส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร อาหารทางภาคเหนือหลายอย่างใช้มะแขว่นปรุงเป็นส่วนผสม เช่น ลาบ ลู้ น้ำพริก แกงแค ชาวภาคเหนือหลายจังหวัดตั้งแต่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน นิยมใช้แทนพริกไทยดำ โดยนำเมล็ดไปคั่วไฟอ่อน ๆ พอให้มีกลิ่นหอม โขลกให้แตก แล้วนำมาปรุงอาหาร
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
อาหารท้องถิ่นประจำเมืองน่าน ไก่ทอดมะแขว่นเป็นไก่ทอดที่ผ่านกระบวนการหมักด้วยเกลือและมะแขว่นหมักจนเข้าเนื้อจึงนำไปทอดนิยมรับประทานคู่กับข้าวเหนียวร้อน ๆ ‘มะแขว่น’ คือเครื่องเทศที่คนภาคเหนือนำมาใช้ปรุงอาหาร นิยมใช้คลุกเคล้าหมักกับเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาว ชูรสชาติ ให้รสเผ็ดร้อนแต่ไม่ชาลิ้นเหมือนหม่าล่า นอกจากนี้ยังเพิ่มกลิ่นหอมชวนรับประทานอย่างเป็นเอกลักษณ์
ส่วนผสม
วิธีการทำ
โขลกมะแขว่นให้พอแตกแล้วใส่ถ้วยแยกไว้ นำกระเทียม รากผักชี และพริกไทยโขลกให้เข้ากัน
นำสะโพกไก่ที่เตรียมไว้ ใส่มะแขว่นและสามเกลอ (กระเทียม รากผักชี พริกไทย) ลงไป แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา
หมักทิ้งไว้สักพักหนึ่ง
ตั้งเตาและใส่น้ำมันลงไป รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงนำสะโพกไก่ที่หมักไว้มาทอดจนสุก
นำขึ้นพักสะเด็ดน้ำมันและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.