เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
น้ำพริกอ่อง เป็นน้ำพริกพื้นบ้านของภาคเหนือ ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่องคือ มีสีส้มซึ่งเป็นสีของมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าน้ำพริกเล็กน้อย มีสามรสชาติเด่น ได้แก่ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด อย่างไรก็ดี อาจมีรสหวานแทรกด้วย นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้ม หรือที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือ รับประทานคู่กับแคบหมู
คำว่า “อ่อง” ในภาษาเหนือนั้น หมายถึง การปรุงน้ำพริกที่ต้องผัดเคี่ยวทิ้งไว้ให้น้ำค่อย ๆ งวดลง น้ำพริกอ่องสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกินของคนเหนือได้อย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่า วัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบในน้ำพริก ล้วนเป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติที่เกิดจากวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับน้ำพริกอ่องว่า เมื่อก่อนมีชาวเมียนมาชื่อ ‘นายอ่องหม่อง’ อยากรับประทานขนมเส้นน้ำเงี้ยว จึงตำน้ำพริกเพื่อจะทำเป็นน้ำเงี้ยว ขณะกำลังเตรียมส่วนผสม คั่วพริก คั่วหอม ให้มีกลิ่นหอม ๆ กำลังได้ที่ ระหว่างนั้น ลูกของนายอ่องหม่องก็ร้องไห้ เพราะหิวข้าว นายอ่องหม่องบอกให้ลูกเงียบก็ไม่เงียบเสียที เอาแต่ร้องไห้ เพราะหิวข้าวมาก นายอ่องหม่องโมโห จึงตักน้ำพริกที่กำลังทำ แต่ยังทำไม่เสร็จ มาให้ลูกชายกิน ซึ่งรสชาติของน้ำพริกตอนนั้น มีรสเผ็ดมาก นายอ่องหม่องจึงเก็บผักมารับประทานคู่กับน้ำพริก ผลปรากฏว่า อาหารกลับมีรสชาติอร่อย รู้สึกติดใจ จึงลองนำไปให้ชาวบ้านบริเวณนั้นรับประทาน ชาวบ้านก็ติดใจ เลยพากันเรียก “น้ำพริกปู่อ่อง” พอนานวันเข้า ก็เรียกชื่อเพี้ยนไปให้สั้นลง เหลือเพียงน้ำพริกอ่อง จึงเรียกติดปากกันมาเท่าทุกวันนี้
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘เพนเน่น้ำพริกอ่องกระชาย’ คือ อาหารที่ผสมผสานรสชาติจากสองฝั่งทั้งตะวันตกและตะวันออกได้อย่างลงตัว ลวกเส้นเพนเน่ ก่อนจะตั้งกระทะผัดหัวหอมใหญ่ เนื้อสัตว์ และวัตถุดิบอื่น ๆ ใส่น้ำพริกอ่องที่มีส่วนผสมหลักอย่างมะเขือเทศลงไปเพิ่มรสกลมกล่อมออกเปรี้ยว ผัดให้เข้ากันจนเป็นซอส ก่อนจะจัดเส้นเพนเน่ใส่จานให้สวยงาม ราดซอสร้อน ๆ โรยด้วยพาร์เมซานชีสตบท้ายก็พร้อมเสิร์ฟให้ลิ้มรส
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ผัดเครื่องพริกแกงกับน้ำมัน
ใส่มะเขือเทศ หอมแดง และหมูสับ ลงไปผัดจนสุก
ใส่เส้นเพนเน่สุกลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาล
จัดใส่จานและตกแต่งด้วยต้นหอม
อ้างอิง
* วิมล ศรีศุข. ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article
** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
*** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
**** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
***** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
****** Khaerunnisa S, et al. Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant
Compounds by Molecular Docking Study. Preprints 2020
******* Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.