Search
ชุดสำรับ-cover1
Healthy Food (เมนูสมุนไพรเพื่อสุขภาพ)

``สำรับอาหารไทย`` (1. ยำถั่วพูสามรสบำรุงกระดูก 2. ไก่ทอดมะแขว่น 3. แกงป่าห้าสมุนไพร)

เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี

Story

อาหารที่จัดเป็นสำรับล้วนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ตามสภาพภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา

อาหารชุดของทางภาคกลางจะเรียกว่า ‘สำรับ’ ในอดีตภาคกลางเคยเป็นศูนย์กลางการปกครอง จึงทำให้อาหารภาคกลางได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอาหารจากหลายเชื้อชาติทั้งจีน อินเดีย ลาว เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ จากทางตะวันตกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จึงทำให้อาหารมีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุงและรสชาติมากกว่าภาคอื่น ๆ รวมไปถึงการตกแต่งจานที่มีความประณีตวิจิตรศิลป์ ด้วยอิทธิพลจาก ‘สำรับอาหารราชวัง’

ส่วนภาคอีสานจะอาหารชุดว่า ‘พาข้าว’ หรือ ‘พาสำรับ’ อาหารจะมีรสชาติจัด มีรสเค็มจากปลาร้าและเกลือ เน้นความเผ็ด ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมการกินมาจากประเทศลาว

อาหารชุดของทางภาคเหนือนั้นจะเรียกว่า ‘ขันโตก’ ภาษาล้านนาแปลว่า ‘ภาชนะสำหรับใส่อาหาร’ รสชาติอาหารจะมีรสเค็มและเปรี้ยวนำ รสไม่จัดมาก

ลำดับสุดท้าย อาหารชุดของทางภาคใต้จะเรียกว่า ‘สำรับ’ เช่นเดียวกับภาคกลาง รสชาติอาหารจะเผ็ดร้อน หอมกลิ่นเครื่องเทศ มีสำรับพระในงานบุญเฉกเช่นเดียวกับทางภาคกลาง ส่วนสำรับถวายพระอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วในงานเดือน 10 นั้นจะเรียกว่า ‘หมรับ’

ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร

Health Benefits

‘สำรับอาหารไทย’ เป็นอาหารมื้อหลักที่จัดเป็นชุดใหญ่ ประกอบไปด้วยอาหารหลากหลายประเภท ข้าวสวย ข้าวเหนียว และกับข้าวสองถึงสามชนิด รวมทั้งผัก ผลไม้ และของหวาน ทำให้อาหารในสำรับอาหารไทยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ คาร์โบไฮเดรตจากข้าว รวมทั้งสรรพคุณต่าง ๆ จากผัก สมุนไพร และเครื่องเทศต่าง ๆ
สำรับที่จัดเซ็ตนี้เป็นเซ็ตที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน และป้องกันการอักเสบต่าง ๆ ด้วยสรรพคุณของอาหารสมุนไพรไทย

  • ‘กระเทียม’ มีฤทธิ์ช่วยเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน*
  • ‘พริกขี้หนู’ มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ**
  • ‘หอมแดง’ มีฤทธิ์ช่วยป้องกันการแพ้ ป้องการอักเสบ รวมถึงป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส***
  • ‘ตะไคร้’ มีฤทธิ์เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน****
  • ‘ขมิ้น’ มีฤทธิ์ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ*****
  • ‘มะแขว่น’ เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการธาตุพิการ ขับลมในลำไส้

ส่วนผสม

Ingredients

1. ยำถั่วพู

  • ถั่วพู 50 กรัม
  • น้ำปลา 20 กรัม
  • มะนาว 20 กรัม
  • น้ำตาลโตนด 15 กรัม
  • น้ำพริกเผา 13 กรัม
  • พริกขี้หนู 5 กรัม
  • หัวกะทิ 40 กรัม
  • หอมแดง 20 กรัม
  • ถั่วลิสง 10 กรัม
  • กุ้งสุก 30 กรัม
  • ไข่ต้ม 1 ฟอง
  • กระเทียมเจียว 2 กรัม

2. ไก่ทอดมะแขว่น

  • น่องไก่ 200 กรัม
  • น้ำตาลโตนด 3 กรัม
  • มะแขว่น 2 กรัม
  • รากผักชี 1 กรัม
  • กระเทียม 5 กรัม
  • พริกไทย 1 กรัม
  • น้ำปลา 20 กรัม

3. แกงป่า

  • เนื้อไก่ 100 กรัม
  • เครื่องพริกแกงป่า
    • พริก
    • ตะไคร้
    • ข่า
    • ขมิ้น
    • พริกไทย
    • เกลือ
    • ผิวมะกรูด
  • กระชาย 5 กรัม
  • พริกไทยอ่อน 2 กรัม
  • ผักตามฤดูกาล 50 กรัม
    • ข้าวโพดอ่อน
    • มะเขือพวง
    • ถั่วฝักยาว
    • มะเขือเปราะ
  • น้ำสต๊อกไก่ 500 กรัม
  • น้ำตาล 10 กรัม
  • น้ำปลา 50 กรัม
  • พริก 5 กรัม
  • ใบกะเพรา 3 กรัม
  • ใบมะกรูด 2 กรัม

วิธีการทำ

Directions

1.ยำถั่วพู

ตั้งเตาต้มน้ำจนพอเดือด ใส่ถั่วพูลงไปลวกจนนิ่ม แล้วนำขึ้นพักสะเด็ดน้ำ

ปรุงน้ำยำ โดยใส่พริกขี้หนู หอมแดง และถั่วลิสง แล้วปรุงรสด้วย น้ำพริกเผา น้ำตาลโตนด น้ำปลา มะนาว และหัวกะทิ

นำน้ำยำราดลงบนถั่วพูที่เตรียมไว้ ใส่กุ้งสุกลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน

จัดใส่จาน โรยกระเทียมเจียวลงไป และเสิร์ฟพร้อมกับไข่ต้ม

2.ไก่ทอดมะแขว่น

โขลกมะแขว่นให้พอแตกแล้วใส่ถ้วยแยกไว้ นำกระเทียม รากผักชี และพริกไทยโขลกให้เข้ากัน

นำสะโพกไก่ที่เตรียมไว้ ใส่มะแขว่นและสามเกลอ (กระเทียม รากผักชี พริกไทย) ลงไป แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา หมักทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง

ตั้งเตาและใส่น้ำมันลงไป รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงนำสะโพกไก่ที่หมักไว้มาทอดจนสุก

นำขึ้นพักสะเด็ดน้ำมันและจัดเสิร์ฟ

3.แกงป่า

ตั้งเตาต้มน้ำสต็อกไก่ รอจนน้ำเดือด แล้วจึงใส่เครื่องพริกแกงป่าลงไป คนละลายให้เข้ากัน

ใส่สมุนไพร กระชาย พริกไทยอ่อน พริก ใบมะกรูด พร้อมกับใส่ผักต่าง ๆ ข้าวโพดอ่อน มะเขือพวง ถั่วฝักยาว และมะเขือเปราะ ลงไปต้มให้พอสุก

ใส่เนื้อไก่ลงไปต้มให้พอสุก แล้วจึงใส่ใบกะเพราลงไป คนให้เข้ากัน

ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาล ตกแต่งด้วยพริกซอย แล้วจัดเสิร์ฟ

อ้างอิง
* Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
*** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
**** Khaerunnisa S, et al. Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant
Compounds by Molecular Docking Study. Preprints 2020
***** Susan J. Hewlings and Douglas S. Kalman, Curcumin: A Review of Its’ Effects on Human Health

* Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
** Hemilä H, Chalker E. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, 1. DOI: 10.1002/14651858.CD000980.pub4
ผศ.ดร. เอกราช บำรุงพืชน์, สมุนไพรและสารพฤกษเคมี
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล – www.medplant.mahidol.ac.th

*** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.

**** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659

* Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.

* Maurizio R and Cristiana V, Establishing the tolerability and performance of tamarind seed polysaccharide (TSP) in treating dry eye syndrome: results of a clinical study, , 29 March 2007
** Chong TE, et al. Boesenbergia rotunda: From Ethnomedicine to Drug Discovery. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2012; Article ID 473637
*** Tsai KW. Immunomodulatory effects of aqueous extract of Ocimum basilicum (Linn.) and some of its constituents on human immune cells. Biology. 2011; 5(7): 375-85
**** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.
***** Khaerunnisa S, et al. Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant
Compounds by Molecular Docking Study. Preprints 2020

****** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
******* Susan J. Hewlings and Douglas S. Kalman, Curcumin: A Review of Its’ Effects on Human Health
********Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.