เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ข้าวคลุกกะปิไม่พบบันทึกว่า ผู้ใดเป็นคนรังสรรค์เมนูนี้ เพียงแต่นิยมรับประทานกันมานานแล้ว สูตรต้นตำรับชาววังแท้ ๆ ต้องมี ปลาดุกย่างคลุกเคล้าด้วยเสมอ
ข้าวคลุกกะปิเป็นอาหารตำรับชาวเมืองที่มีรสชาติครบเครื่อง มีวัตถุดิบหลากหลาย แต่เมื่อทานผสมกันแล้วกลับมีรสชาติที่เข้ากันอย่างดี ถือว่าเป็นอาหารกะปิอีกหนึ่งเมนูที่เลิศรส ‘กะปิ’ เป็นเครื่องปรุงคู่บารมีที่สำคัญของครัวเรือนสยามมาอย่างยาวนาน คนไทยรู้จักกะปิมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ตอนที่สุโขทัยแพร่อำนาจขยายอาณาเขตลงทางใต้ จนครอบครองปัตตานีก็ได้นำกะปิขึ้นเหนือกลับสู่กรุงสุโขทัยมาด้วย
กะปิมีบันทึกเป็นหลักฐานในสมัยพระนารายณ์มหาราชช่วงที่ประกาศใช้นโยบายเปิดประเทศ ได้มีมิตรสหายต่างชาติเข้ามากรุงศรีอยุธยา มีทูตจากเปอร์เซียเข้ามาเยือน และบันทึกถึงกะปิไว้ว่า กะปิเป็นเครื่องปรุงอาหารอย่างหนึ่งของไทย เป็นของเน่า กลิ่นเหม็น ไม่เห็นสมควรนำไปปรุงอาหารได้เลย
แต่หลังจากนั้น 21 ปี ทูตฝรั่งเศสได้มาเยือน และบันทึกถึงกะปิไว้ว่า กะปินั้นไม่ได้เลวร้ายเหมือนอย่างที่ทูตของเปอร์เซียบรรยายเอาไว้ โดยบรรยายถึง สำรับกับข้าวไทยว่า ปกติซอส (น้ำพริก) ของไทยก็ไม่ค่อยมีอะไร ใส่พริก กระเทียม และเครื่องเทศ ไม่รู้ทำไมคนไทยถึงชอบเจ้ากุ้งที่หมักจนเปื่อย ที่เรียกว่า ‘กะปิ’ มากจนต้องผสมมันลงไปด้วยเสมอ ๆ ดังกล่าว เป็นหลักฐานว่า ทูตฝรั่งเศสได้บันทึกถึง ‘น้ำพริกกะปิ’
ส่วนข้าวคลุกกะปิ มีพูดถึงครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1907 มีบันทึกว่า รัชกาลที่ 5 ทรงพระสุบินถึง กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ผู้มีศักดิ์เป็นยายว่า ปรุงข้าวคลุกกะปิให้รับประทานได้อร่อยนัก เมื่อตื่นขึ้นมา พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เตรียมกะปิและเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อมสรรพ จากนั้นพระองค์ก็ทรงคลุกเสวยด้วยพระองค์เองในตอนเช้าที่ยุโรป
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ข้าวคลุกกะปิตำรับคนเมืองเสริมแร่ธาตุ’ เป็นอาหารจานเดียวที่ใช้ข้าวผัดกับกะปิ จนหอมเป็นเนื้อเดียวกัน จัดเสิร์ฟให้กินพร้อมเครื่องเคียงหลายอย่างทั้งผักและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้าวคลุกกะปิจานเดียวจึงมีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ รวมไปถึงผักเคียงต่าง ๆ ก็ให้ทั้งวิตามินและสารอาหารครบถ้วน ด้านกะปิที่คลุกผัดกับข้าวยังมีแคลเซียมสูง ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม และรสเค็มนัว
ส่วนผสม
วิธีการทำ
เผาหรือย่างกะปิให้มีกลิ่นหอม
นำกะปิที่ย่างจนหอมแล้ว มาคลุกกับข้าวหอมมะลิและกุ้งแห้งจนเข้ากัน
หั่นซอยวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เป็นฝอย ๆ ทั้งมะม่วง หอมแดง ถั่วฝักยาว พริก และไข่เส้น
นำข้าวคลุกกะปิที่เตรียมไว้มาจัดจานพร้อมเครื่องเคียงต่าง ๆ
อ้างอิง
* “Mango”. Fruits of Warm Climates. NewCROP, New Crop Resource Online Program, Center for New Crops & Plant Products, Purdue University. pp. 221–239. ISBN 0-9610184-1-0.
** Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
*** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
**** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
***** Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.