เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
คำว่า ‘ซอส’ อาจเป็นคำที่ไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไรนักเมื่อนำมาใช้กับอาหารไทย ด้วยลักษณะวิธีการปรุงอาหาร ‘ซอสมะขาม’ จึงเป็นคำเรียกที่ถูกต้องและเข้าใจง่าย และทำให้เมนูมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วย ซอสมะขามได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ซอสสามรสสารพัดประโยชน์คู่ครัวไทย’ มีที่มาจากน้ำเคี่ยวซึ่งปรุงจากน้ำตาล น้ำปลา และน้ำมะขามเปียก ด้วยส่วนผสมสามชนิดนี้ ทำให้ได้น้ำปรุงรสที่มีรสชาติถึงสามรสด้วยกัน ได้แก่ รสเปรี้ยว รสเค็ม และรสหวาน สามารถนำไปรังสรรค์ หรือปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู
วัตถุดิบสำคัญอันเป็นที่มาของซอสนี้คือ มะขามเปรี้ยว เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน ด้วยเชื่อว่า จะทำให้เจ้าของบ้านมีบารมี นอกจากนี้ ฝักมะขามยังใช้ทำนายฟ้าฝนได้ เชื่อว่าปีใดที่ฝักมะขามโค้งงอมาก จนปลายผลมาชิดขั้วผลเป็นวงกลม แสดงว่าปีนั้นอากาศจะหนาวจัด
จะเห็นได้ว่า มะขามได้ผูกโยงเข้ากับวิถีชีวิตและความเชื่อของคนไทย อีกทั้งเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อมาจึงนำมาใช้ปรุงอาหารหลายชนิด ด้วยรสชาติและคุณสมบัติของมะขาม จึงเหมาะแก่การนำมาทำเป็นซอสต่าง ๆ เช่น ซอสสำหรับราดกุ้งทอด ซอสผัดไทยโบราณ หรือสามารถผสมกับส้มตำไทย จะได้รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘กุ้งซอสมะขามสมุนไพรไทย’ เป็นเมนูทอดที่รับประทานง่าย อร่อย ทำไม่ยาก เพียงนำกุ้งตัวโตไปทอดจนเหลืองกรอบ จากนั้นก็ราดด้วยซอสมะขามที่มีรสชาติเปรี้ยวหวาน ช่วยชูรสชาติของกุ้งให้หวานอร่อยขึ้น เพียงเท่านี้ก็พร้อมเสิร์ฟ จะรับประทานกับข้าวสวยเป็นอาหารมื้อหลัก หรือกินเป็นของว่างก็ได้ตามสะดวก แต่แนะนำให้กินตอนที่อาหารยังร้อน ๆ เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจรสของกุ้งที่คลุกเคล้าด้วยซอสมะขามจนไม่รู้ลืมอย่างแน่นอน ทางการแพทย์จัดให้มะขามเปรี้ยวเป็นส่วนหนึ่งของยาสมุนไพรที่ช่วยแก้อาการท้องผูก
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งกระทะแล้วใส่น้ำมันลงไป เมื่อน้ำมันร้อน จึงใส่กุ้งที่ชุบแป้งสาลีลงไปทอดจนสุก แล้วนำขึ้นพักสะเด็ดน้ำมัน
ทำซอสมะขาม โดยใช้ น้ำมะขามเปียก น้ำปลา และน้ำตาลโตนด เคี่ยวให้เข้ากัน แล้วจึงนำกุ้งลงไปผัดกับซอสมะขาม
ใส่พริกแห้งและกระเทียมเจียวลงไป
คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
* Maurizio R and Cristiana V, Establishing the tolerability and performance of tamarind seed polysaccharide (TSP) in treating dry eye syndrome: results of a clinical study, , 29 March 2007
** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
*** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.