เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
ยำ เป็นอาหารที่มีรสจัดเหมาะกับการเป็นอาหารทานเล่นหรืออาหารเรียกน้ำย่อย ส่วนใหญ่จะนิยมนำไปเป็นอาหารทานแกล้มเหล้าในวงสุรา ซึ่งอาหารประเภทยำเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ เพราะคนไทยนิยมอาหารรสจัด จนถือว่าเป็นนิสัยในการรับประทานอย่างหนึ่ง
ยำ มีความหมายตามพจนานุกรมหมายถึงการนำอาหารที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันปรุงรสด้วย น้ำยำ คำว่า ยำ จึงหมายถึงกรรมวิธีในการทำอาหาร คือ การนำวัตถุดิบและเครื่องปรุงต่าง ๆ มาคลุกเคล้าจนเป็นอาหารเมนูยำ จะเห็นได้ว่า ยำ ไม่ได้หมายรวมถึงรสชาติ จึงมีความเป็นไปได้ว่ารสชาติของยำในอดีต จนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง และเครื่องยำอาจไม่ได้ใช้เพื่อปรุงรส แต่เพื่อดับกลิ่นคาวในอาหารยำประเภทเนื้อหรือตัดรสชาติวัตถุดิบหลัก
ยำที่มีรสชาติสามรสประกอบด้วยรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด เช่น ยำปลาหมึก ยำเนื้อย่าง ยำเล็บมือนาง ส่วนยำสี่รสประกอบด้วยเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด จะมียำใหญ่ ยำสามกรอบ ยำปลาดุกฟู เป็นต้น ยำอีกประเภทหนึ่งจะทำคล้ายแกงออกรสหวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ดเล็กน้อย ใช้กะทิผสมน้ำยำ เช่น ยำถั่วพู
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ยำถั่วพูสามรสบำรุงกระดูก’ เป็นอาหารภูมิปัญญาของคนโบราณที่ช่วยให้การรับประทานผักอร่อยขึ้น ยำถั่วพูมีรสชาติกลมกล่อมใกล้เคียงกับสลัดผักของชาวตะวันตก และไม่เผ็ดจัดจนเกินไป ส่วนผสมคร่าว ๆ มี ‘ถั่วพู’ ซึ่งเป็นผักรสจืดมาคลุกเคล้ากับกุ้งสดและหมูสับ ปรุงรสให้เปรี้ยวหวาน ก่อนจะเพิ่มความอร่อยด้วยน้ำพริกเผาและกะทิสด
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งเตาต้มน้ำจนพอเดือด ใส่ถั่วพูลงไปลวกจนนิ่ม แล้วนำขึ้นพักสะเด็ดน้ำ
ปรุงน้ำยำ โดยใส่พริกขี้หนู หอมแดง และถั่วลิสง
แล้วปรุงรสด้วย น้ำพริกเผา น้ำตาลโตนด น้ำปลา น้ำมะนาว และหัวกะทิ
นำน้ำยำราดลงบนถั่วพูที่เตรียมไว้ ใส่กุ้งสุกลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน
จัดใส่จาน โรยกระเทียมเจียวลงไป และเสิร์ฟพร้อมกับไข่ต้ม
อ้างอิง
* Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
** Hemilä H, Chalker E. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, 1. DOI: 10.1002/14651858.CD000980.pub4
ผศ.ดร. เอกราช บำรุงพืชน์, สมุนไพรและสารพฤกษเคมี
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล – www.medplant.mahidol.ac.th
*** Vonne D., Ofelia G., Guillermo O., José P., & Tzayhrí G. (2014). Determination of Capsaicin, Ascorbic Acid, Total Phenolic Compounds and Antioxidant Activity of Capsicum annuum L. var. serrano by Mid Infrared Spectroscopy (Mid-FTIR)
and Chemometric Analysis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 57(1): 133-142.
**** Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659