เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เมนูปลาทอดขมิ้นตะไคร้หอมไม่ปรากฏที่มาอย่างแน่ชัด แต่อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นอาหารจานปลาที่ของผู้ที่อาศัยริมน้ำ เนื่องจากสมัยก่อนมักตั้งถิ่นฐานอยู่ริมน้ำ จึงมีอาหารที่ทำจากปลามากมาย สำหรับขมิ้นนั้นเป็นพืชที่สามารถช่วยดับกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี การนำปลามาหมักแล้วทอดกินแบบเร็ว ๆ ง่าย ๆ แต่อร่อย เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านที่มาเพิ่มสีสันในการดำรงชีวิต ในเวลาต่อมาจึงมีการประยุกต์เมนูปลาและขมิ้นเป็นเมนู ‘ปลาทอดผัดขมิ้น’ โดยมีส่วนประกอบคล้ายกับวิธีทำแบบฉบับแต่ไม่ได้นำปลามาหมักพอกขมิ้นเน้น ๆ ก่อนทอด แต่เป็นเพียงแค่การนำขิงสับมาผัดกับปลาที่ทอดแล้ว แล้วจะจัดเสิร์ฟให้รับประทานแบบร้อน ๆ
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ปลาทอดผัดขมิ้นตะไคร้หอม’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
เมนูจานผัดที่มีสมุนไพรเป็นตัวชูโรงให้เนื้อปลามีรสชาติกลมกล่อมขึ้น โดยนำปลาไปทอดก่อนหน้ามาผัดกับขมิ้นในกระทะ เคล็ดลับที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้เนื้อปลาก็คงไม่พ้นสมุนไพรอย่าง ขมิ้น ที่ช่วยดึงรสเข้มข้นของเนื้อปลาออกมาและดับกลิ่นคาว ทำให้เมนูนี้มีกลิ่นหอมเย้ายวนใจทั้งกลิ่นปลาทอดผสานกับกลิ่นสมุนไพร ได้สัมผัสกรอบนอกนุ่มในของเนื้อปลา ตลอดจนสีสันจากขมิ้นที่ช่วยให้ปลามีสีเหลืองชวนรับประทานยิ่งขึ้น
ส่วนผสม
วิธีการทำ
หมักปลาด้วยกระเทียม น้ำปลา ผงกะหรี่ และขมิ้นสด
ตั้งกระทะน้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วนำใบมะกรูด ขมิ้น ตะไคร้ ลงไปทอดให้กรอบน่ารับประทานหลังจากนั้นนำปลาที่หมักไว้ชุบแป้งสาลี แล้วนำไปทอดจนสุก
นำปลาขึ้นพักสะเด็ดน้ำมัน แล้วจัดเสิร์ฟพร้อมกับสมุนไพรที่ทอดไว้
อ้างอิง
*Charan J, Goyal JP, Saxena D, Yadav P. Vitamin D for prevention of respiratory tract infections: A systematic review and meta-analysis. Journal of pharmacology & pharmacotherapeutics. 2012;3(4):300.
Martineau AR, et al. Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory tract infections: systematic review and meta-analysis of individual participant data. BMJ. 2017;356:i6583
**Susan J. Hewlings and Douglas S. Kalman, Curcumin: A Review of Its’ Effects on Human Health
***Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659