เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
แกงเผ็ดร้อนรสจัดที่เป็นอาหารพื้นบ้านของไทย คำว่า ‘โคล้ง’ สันนิษฐานว่า มีที่มาจากชื่อแกงโบราณคือ ‘โพล้ง’ ที่ใช้วัตถุดิบใกล้เคียงกับต้มโคล้งในปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะและรสชาติคล้ายต้มยำ แต่ต่างเมนูกัน ต้มโคล้งมักใช้ปลาย่าง หรือปลากรอบ ในขณะที่ต้มยำจะใช้ปลาสด หรือกุ้งสด และต้มโคล้งจะใช้มะขามเปียก หรือมะม่วง สำหรับปรุงรสเปรี้ยว ต่างจากต้มยำที่ใช้มะนาว
ที่มาของเมนูต้มโคล้งเกิดจากวิถีชีวิตคนไทยสมัยก่อน เมื่อหาปลาได้จำนวนมากในฤดูน้ำหลาก และไม่ทราบว่าจะเก็บอย่างไร จึงหาวิธีถนอมอาหารเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เช่น การใส่เกลือตากแดด ทำปลาเค็ม ปลาร้า และอื่น ๆ รวมถึงปลาย่าง ภายหลังปลาย่างถูกนำมาปรุงต่อยอดเป็นแกง ใส่พริกชี้ฟ้าแห้งที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ ลงไป กลายเป็นเมนูต้มโคล้งในที่สุด ปลาย่างและพริกชี้ฟ้าแห้งจะทำให้ต้มโคล้งมีกลิ่นหอมต่างจากต้มยำ และปรุงสะดวกกว่า เพราะส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่สามารถตุนไว้ในครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นปลากรอบ มะขามเปียก พริกชี้ฟ้าแห้ง หัวหอมแดง รวมถึงพืชผักสวนครัวที่คนไทยนิยมปลูกหรือมักมีไว้ไม่ขาดมือ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริกขี้หนู
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ต้มโคล้งปลาย่างหอมแดงเผาต้านหวัด’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
ต้มโคล้งเป็นเมนูพื้นบ้านประเภทแกงที่มีรสเผ็ดร้อน น้ำพริกแกงจะใส่หอมแดงเผา ปลาย่าง และใบมะขามอ่อน ช่วยให้เกิดรสเปรี้ยว ปรุงรสเปรี้ยวจัด เค็ม และเผ็ด ช่วงใกล้ทำอาหารเสร็จจะโรยด้วยพริกชี้ฟ้าแห้ง เพื่อให้แกงมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ต้มโคล้งยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรอย่าง ข่า และหอมแดง ที่มีสารสำคัญช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ ป้องกันโรคโควิด-19 รับประทานเพื่อสุขภาพได้ทั้งครอบครัว
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งเตา ใส่น้ำสต๊อกไก่ลงไปต้มจนเดือด แล้วจึงใส่ใบกะเพรา หอมแดง ข่า พริกแห้ง และใบมะกรูด ลงไป
ปรุงรสด้วยน้ำปลา
ใส่ปลาดุกย่างรมควันลงไปและโรยใบกะเพราลงไปในขณะที่น้ำเดือด
หลังจากนั้นปิดไฟแล้วเติมน้ำมะนาวลงไปและจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
**Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
***Tsai KW. Immunomodulatory effects of aqueous extract of Ocimum basilicum (Linn.) and some of its constituents on human immune cells. Biology. 2011; 5(7): 375-85