เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“ลาบ” เป็นอาหารพื้นบ้าน มีที่มาจากทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ได้รับอิทธิพลจากเวียงจันทน์ อาจมีวิธีการปรุงต่างกันเล็กน้อยตามแต่ละพื้นที่ ทว่าสิ่งที่เป็นลักษณะร่วมคือ ลาบเป็นอาหารที่พบในงานเทศกาล เพราะสมัยก่อนผู้คนมักนิยมล้มวัวล้มควาย แล้วนำเนื้อมาทำเป็นลาบคราวละจำนวนมาก สำหรับเลี้ยงแขก การทำลาบต้องใช้กำลังเพื่อสับเนื้อ และตำเครื่องเทศให้กลายเป็นพริกลาบ ฉะนั้น ผู้ชายจึงได้รับหน้าที่รับผิดชอบขั้นตอนการปรุงลาบเป็นส่วนใหญ่ ใครมีฝีมือการทำอาหารดี หรือทำลาบอร่อย จะได้รับการขนานนามว่า “นักเลงลาบ” เป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชน ได้รับเชิญให้ไปเป็นหัวหน้าพ่อครัวในงานเทศกาลอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้น อาจเรียกได้ว่า “ลาบ” เป็นอาหารสำหรับรับประทานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการประกอบอาหาร ตลอดจนนั่งรับประทานร่วมกัน ช่วยให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกและความสามัคคี
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘ลาบเห็ดข้าวคั่วหอมสไตล์เหนือ’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
เมนูลาบเห็ด มีความพิเศษต่างจากเมนูลาบสูตรดั้งเดิมคือ ปกติอาหารประเภทลาบจะใช้เนื้อสัตว์เป็นหลัก แต่ปัจจุบันพบการใช้วัตถุดิบอื่นมาสับคลุกเคล้ากับเครื่องลาบ เช่น เห็ด ทว่าวิธีการไม่ต่างกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ เมนูลาบเห็ดมีสรรพคุณหลากหลายจากสมุนไพรต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องลาบ รวมถึงพริกลาบรสจัดจ้านที่ช่วยให้เห็ดอร่อยขึ้น
ส่วนผสม
วิธีการทำ
ตั้งเตา รอจนน้ำเดือดแล้วนำเห็ดต่าง ๆ ลงไปลวกจนสุก แล้วนำขึ้นพักสะเด็ดน้ำ
ปรุงรสด้วย พริกป่น ข้าวคั่ว น้ำตาล มะนาว และน้ำปลา
ใส่ผักสมุนไพรอื่น ๆ เช่น หอมแดง ผักชีฝรั่ง ต้นหอม และใบสะระแหน่ ลงไป
คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน แล้วจัดเสิร์ฟพร้อมผักเคียงต่าง ๆ
อ้างอิง
*บุญธิดา มระกูล. เห็ดแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ.https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/
**บุญธิดา มระกูล. เห็ดแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ.https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/