เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
เรื่องเล่าเมนูไทยเทสเทอราปี
“น้ำพริก” สันนิษฐานว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คำว่า ‘น้ำพริก’ มีที่มาจากวิธีการปรุงอาหาร ด้วยการนำสมุนไพร ได้แก่ พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง ผักท้องถิ่นต่าง ๆ โขลกรวมกับกุ้ง ปลา หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ตามความพอใจ
คนสมัยก่อนนิยมรับประทานสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก เพราะหาจับได้ง่ายตามคลอง ซึ่งสะดวกกว่าการเลี้ยง หรือหาจับสัตว์บก เมนู “น้ำพริก” คาดว่า เป็นอาหารที่ทำขึ้นเพื่อดับกลิ่นคาวของสัตว์น้ำ และเพื่อให้อาหารมีรสจัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียกชื่อน้ำพริกแต่ละชนิด มักจะเรียกตามส่วนประกอบหลักที่นำมาทำ เช่น น้ำพริกปลา น้ำพริกขิง หรือจะเรียกตามประเภทของพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแห้ง
มีผลสำรวจบันทึกไว้ว่า ประเทศไทยเคยมีน้ำพริกมากกว่า 500 ประเภท แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ 200 ประเภทเท่านั้น ซึ่งเมนูนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555 โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีส่วนประกอบ วิธีการทำ และวิธีการกินน้ำพริกที่แตกต่างกันไป อย่างเช่นภาคเหนือมักจะใช้ถั่วเน่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำน้ำพริก ในขณะที่ภาคอีสานนิยมใส่ปลาร้า และภาคใต้ก็ปรุงน้ำพริกด้วยน้ำบูดู ความบันเทิงของเมนูน้ำพริกจึงอยู่ที่การเปิดโอกาสให้คนครัวได้สนุกกับรสชาติที่หลากหลาย เพียงแค่เปลี่ยนส่วนผสม นอกจากนี้ รสเผ็ดของน้ำพริกยังช่วยให้เราเจริญอาหาร และมีสรรพคุณต่าง ๆ ที่ดีต่อร่างกาย
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
‘น้ำพริกสมุนไพร’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
น้ำพริกเป็นอาหารสไตล์เครื่องจิ้มของไทย มีรสเผ็ด กลิ่นหอม สำหรับรับประทานคู่กับเนื้อสัตว์หรือผัก และนิยมรับประทานกับข้าวหอมมะลิหุงร้อน ๆ ด้วยกรรมวิธีขั้นการปรุงอาหารที่เรียบง่ายของเมนูนี้เอง จึงทำให้น้ำพริกมีสูตรหลากหลาย ดัดแปลงไปตามวัตถุดิบของแต่ละพื้นที่ ถือได้ว่า เป็นเมนูยาที่รวมสมุนไพรชั้นเลิศไว้ด้วยกัน
ส่วนผสม
วิธีการทำ
หั่นซอยสมุนไพรทั้งหมดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทั้ง ตะไคร้ ขิง ข่า หอมแดง พริกแห้ง และใบมะกรูด
นำสมุนไพรทั้งหมดเจียวในน้ำมัน และ นำขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน
ปรุงรสด้วย น้ำมะขามเปียก น้ำตาลโตนด และมะนาว
คลุกเคล้าวัตถุดิบทั้งหมดให้เข้ากัน และจัดเสิร์ฟ
อ้างอิง
*V Sri Sreshtaa, Leslie rani. S, Brundha M.P, Anjaneyulu K (2020). DIETARY CAPSAICIN AND IMMUNE SYSTEM, International Journal of Psychosocial RehabilitationISSN:1475-7192
**Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.
***Moutia M, et al. Review Article In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium
sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2018; Article ID 4984659.https://doi.org/10.1155/2018/4984659
****Russo M, Spagnuolo C, Tedesco, The flavonoid quercetin in disease prevention and therapy: facts and fancies. Biochem Phamacol. 2012;83(1):6-15.